ประวัติโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)


เครื่องหมายประจำโรงเรียน

ตรากราฟ เอ๊กซโปเน็นเชียล ฟังก์ชัน y = ex หมายถึง ความเจริญงอกงามอันไม่มีที่สิ้นสุด

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ จุดเน้น ปรัชญา(Philosophy)

สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม(EDUCATION IS GROWTH)

ปณิธาน(Pledge)

จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมศักยภาพแก่เยาวชนโดยใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรนานาชาติเป็นต้นแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยที่มีคุณภาพ

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐานและหลักสูตรนานาชาติ บนฐานการวิจัยและสาธิตการสอนที่ส่งเสริมพหุปัญญา ภาวะผู้นำ คุณธรรมและวินัยของผู้เรียนโดยสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

พันธกิจ (Mission)

1. ร่วมผลิตบัณฑิตและเป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
2. เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ
3. สร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยที่มีคุณภาพ
4. บริการวิชาการที่มีคุณภาพ เพื่อให้ชุมชนและสังคมเข้มแข็งและยั่งยืน
5. ส่งเสริมและทำนุบำรุงวัฒนธรรมและศิลปะ
6. พัฒนาระบบบริหารที่มีคุณภาพและหลักธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์ของนักเรียน (Student Identity)

รอบรู้วิชาการ ชำนาญเทคโนโลยี มีภาวะผู้นำ คุณธรรมและวินัย

คำขวัญโรงเรียน (SchoolMotto)

ยึดมั่นในวัฒนธรรมไทย ใส่ใจความเป็นสากล

เอกลักษณ์ของโรงเรียน(School Identity)

ส่งเสริมพหุปัญญา สาธิตการสอน ต้นแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

จุดเน้นของโรงเรียน (School Focus Point)

การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา)


ประวัติโรงเรียน
ประวัติความเป็นมา

โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนรัฐบาล เดิมสังกัดกองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เลขที่ 176 ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร) รหัสไปรษณีย์ 10110 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3กรกฎาคมพ.ศ.2495ดังสำเนาต่อไปนี้ “ด้วยกระทรวงศึกษาธิการให้พิจารณาเห็นสมควรจัดเปิดการสอนชั้นมัธยมศึกษาขึ้นที่บริเวณโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร จึงให้เปิดโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาวิสามัญ ณ ท้องที่ดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2495 เป็นต้นไป ให้ชื่อสถานศึกษาแห่งนี้ว่า “โรงเรียนประสานมิตร”และใช้อักษรย่อตามโรงเรียนว่า “ป.ม.”ประกาศ ณ วันที่3 กรกฎาคม พ.ศ. 2495โดย ม.พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ”

โรงเรียนนี้เปิดสอนวันแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 มีอาคาร 2 หลัง เป็นอาคารเรียน1 หลัง รับนักเรียนเข้าเรียนมัธยม 1 จำนวน 64 คน และเปิดสอนชั้นสูงขึ้น ปีละชั้นตามลำดับ

พ.ศ.2497 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ประสานมิตรได้รับการยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ขึ้นเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยวิชาการศึกษา โรงเรียนประสานมิตร จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร เรียกย่อว่า ม.ว.ศ.

พ.ศ. 2508 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารพร้อมกัน 5 หลัง สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2509

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2517 คณะรัฐมนตรีให้ยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28มิถุนายน พ.ศ. 2517 ดังนั้นโรงเรียนสาธิตแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้ชื่อย่อว่า ม.มศว. ตามชื่อย่อของมหาวิทยาลัยและใช้รูปแบบของตรามหาวิทยาลัยเป็นตราของโรงเรียน

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประกาศรวมโรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรและโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกาศให้แยกการบริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นฝ่ายมัธยม และฝ่ายประถมโดยให้มีผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)และผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) เป็นผู้บริหารงานของแต่ละโรงเรียน

พ.ศ. 2539 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 8 ชั้นพื้นที่ 16,000 ตารางเมตร งบประมาณค่าก่อสร้าง 140 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ 110 ล้านบาท และทางโรงเรียนหาสมทบอีก 30 ล้านบาท จัดพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมพ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์เจ้าอาวาสวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ และในการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังนี้ต้องรื้ออาคารเดิมออก 3 หลังคืออาคาร 3 อาคาร 4และอาคารพยาบาล เมื่อก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังนี้แล้วเสร็จจะต้องรื้ออาคาร1ออกเพื่อปรับปรุงสภาพภูมิสถาปัตย์ให้สวยงามร่มรื่น

พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดอาคารอเนกประสงค์8 ชั้น (อาคารวิทยวิโรฒ) และทรงบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเด็กพิเศษ ณ ห้องสมุด ชั้น 2 อาคารวิทยวิโรฒ

พ.ศ. 2547 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการภาษาและเทคโนโลยี 9 ชั้น พื้นที่ 14,290 ตารางเมตร งบประมาณค่าก่อสร้าง 150 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ 120 ล้านบาท และทางโรงเรียนหาสมทบอีก 30 ล้านบาท เมื่อก่อสร้างอาคารปฏิบัติการภาษาและเทคโนโลยี 9 ชั้นแล้วเสร็จโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่ออาคารปฏิบัติการภาษาและเทคโนโลยีว่า“อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม2550”เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของโครงการหลักสูตรนานาชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์)กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา และศูนย์ศักยวิโรฒ

พ.ศ. 2556 เริ่มก่อตั้งศูนย์เด็กเล็ก รับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 2 ปี รับนักเรียนที่เป็นบุตรหลาน ของบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)และมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

พ.ศ. 2557 เริ่มก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนากีฬาและสุขภาพ โดยมีทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย งานศูนย์กีฬาและงานส่งเสริมศักยภาพนักกีฬา ในปี พ.ศ. 2560 มีการจัดสร้างสระว่ายน้ำ งบประมาณ 22 ล้านบาท

ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแบ่งห้องเรียนระดับชั้นละ6 ห้องเรียน ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งห้องเรียนเป็น18 ห้องเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5แบ่งห้องเรียนเป็น14 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6แบ่งห้องเรียนเป็น12 ห้องเรียน รวมห้องเรียนทั้งสิ้น62 ห้องเรียน มีนักเรียนประมาณ 2,479 คนสายวิชาการและสายปฏิบัติการ 227 คน พนักงานบริการ และลูกจ้างประจำ 29 คนมีพื้นที่ประมาณ 13 ไร่ 3 งาน

การจัดการศึกษา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ

ปีการศึกษา 2495-2508 การจัดการศึกษาด้านวิชาการของโรงเรียน ในระยะแรกจัดขึ้นตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้น พุทธศึกษา จริยศึกษา พลศึกษาและหัตถศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาวิสามัญศึกษา 6 ปีดังนี้

  • ระดับมัธยมสามัญศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
  • ระดับมัธยมวิสามัญศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
  • ระดับมัธยมวิสามัญศึกษาเปิดสอนแผนกอักษรศาสตร์ แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกทั่วไป เพื่อสนองความต้องการของบุคคลรอบ ๆ โรงเรียนและเป็นแหล่งปฏิบัติการของโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร

  • ปีการศึกษา 2509 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้โรงเรียนมัธยมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร) จัดการศึกษาในรูปของโรงเรียนมัธยมแบบประสม ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร ที่มีการบริหารด้านวิชาการเป็นแบบโรงเรียนมัธยมแบบประสม

    ผลการเรียนการสอน“มัธยมแบบประสม” นี้ทำให้กระทรวงศึกษาธิการหันมาสนใจจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแบบประสมทั้งในกรุงเทพมหานคร (ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย) และต่างจังหวัดอีกเกือบ 50 โรงเรียน ทดลองวิธีการอยู่เกือบ 10 ปี จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาระดับมัธยมครั้งใหญ่คือหลักสูตรมัธยมศึกษาพุทธศักราช 2521

    ปีการศึกษา 2521 โรงเรียนมัธยมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร) ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และได้เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน “แบบประสม” เป็นจัดการเรียนการสอนเฉพาะสายสามัญ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาพุทธศักราช 2521ที่ประกอบด้วยสายศิลป์และสายวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนทดลองนำร่องการสอนแบบสืบสวนสอบสวนของ สสวท. ในด้านวิทยาศาสตร์

    ปีการศึกษา 2538 มีการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้
    1. แผนการเรียนศิลป์-ภาษา เปิดสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
    2. แผนศิลป์-คณิต 1
    3. แผนศิลป์-คณิต 2
    4. แผนวิทย์-คณิต
    ปีการศึกษา 2546 มีการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนี้
    1. แผนการเรียนศิลป์-ภาษา เปิดสอนวิชาภาษาฝรั่งเศส
    2. แผนการเรียนศิลป์-คณิต
    3. แผนการเรียนวิทย์-คณิต
    4. แผนการเรียนสหศิลป์ (ทัศนศิลป์ คอมพิวเตอร์ คหกรรม พลศึกษา)
    ปีการศึกษา 2547 จัดแยกผู้เรียนตามความถนัดโดยเปลี่ยนจากแผนการเรียนเป็นวิชาเอก 9 วิชาเอก ประกอบด้วย
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกทัศนศิลป์
    6. วิชาเอกคอมพิวเตอร์
    7. วิชาเอกอาหารและโภชนาการ
    8. วิชาเอกพลศึกษา
    9. วิชาเอกดนตรี
    ปีการศึกษา 2548 มีการจัดการเรียนการสอนเป็น 12 วิชาเอก ประกอบด้วย
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกจีน
    6. วิชาเอกอังกฤษ
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น
    9. วิชาเอกอาหารและโภชนาการ
    10. วิชาเอกพลศึกษา
    11. วิชาเอกดนตรี
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์

    ปีการศึกษา 2549 มีการเริ่มต้นโครงการพัฒนาศักยภาพตามวิชาเอก กิจกรรมโครงการภาษาและวัฒนธรรม 1 ปีการศึกษา โดยศึกษาในประเทศ 2 ปีการศึกษา และในต่างประเทศ 1 ปีการศึกษา หรือเรียกว่า “โครงการ 2+1” โดยเริ่มต้นสำหรับวิชาเอกภาษาจีน และวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นและโรงเรียนในต่างประเทศที่ได้ทำความร่วมมือกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม) ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส จีนและญี่ปุ่นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    1.เพื่อส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

    2.เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคลและส่งเสริมนักเรียนที่มีพัฒนาการในทางที่ดี หรือแก้ไขในส่วนที่นักเรียนบกพร่อง

    3.เพื่อศึกษาวัฒนธรรมและเรียนรู้การดำรงชีวิตในต่างประเทศ

    ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนได้เปิด“หลักสูตรนานาชาติ(SatitPrasarnmit International Programme(SPIP)” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษาในระบบนานาชาติกับผู้เรียนที่มาจากครอบครัวไทย เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความมั่นใจ มีมุมมองที่เป็นสากล และมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติในประเทศและระดับอุดมศึกษาต่างประเทศ ดำเนินการเรียนการสอนโดยยึดตามแบบของหลักสูตร British Curriculum

    เป้าหมาย ให้การศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ และคุณธรรมด้วยการพัฒนาแบบองค์รวม ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาทักษะในทุกด้านเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

    ปีการศึกษา 2554 การจัดการเรียนการสอนเป็น 13 วิชาเอกได้แก่
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกจีน
    6. วิชาเอกอังกฤษ
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น
    9. วิชาเอกอาหารและการโรงแรม
    10. วิชาเอกพลศึกษา
    11. วิชาเอกดุริงยางคศิลป์
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์
    13. วิชาเอกศิลปะการแสดง

    ปีการศึกษา 2555เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มีการก่อตั้ง “ศูนย์ศักยวิโรฒ” โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ80 พรรษา5 ธันวาคม 2550 และศูนย์ต้นแบบพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และพระราชทานชื่อว่า“ศูนย์ศักยวิโรฒ” ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)ศูนย์ศักยวิโรฒเป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-มัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมนักเรียนในโครงการศูนย์ศักยวิโรฒเข้าเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนทั่วไป โดยมีครูการศึกษาพิเศษ และอาจารย์ประจำวิชาร่วมกันดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ปกติ ซึ่งมีขั้นตอนมารองรับในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถผ่านเกณฑ์ตามปกติได้ โดยจะมีครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้ดูแล

    มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเรียนร่วมเต็มเวลา รับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าศึกษา5 ประเภท ได้แก่ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (ระดับเรียนได้) ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้ ผู้เรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นและผู้เรียนที่ภาวะออทิสซึม โดยผู้เรียนในโครงการศูนย์ศักยวิโรฒเข้าเรียนร่วมในห้องกับผู้เรียนทั่วไปซึ่งโครงการศูนย์ศักยวิโรฒมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนตามทฤษฎี “พหุปัญญา” เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษให้พัฒนาทักษะต่างๆได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงต้องอาศัยครูที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญชำนาญการ ตลอดจนการจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

    ปีการศึกษา 2555 การจัดการเรียนการสอนเป็น 14 วิชาเอก ได้แก่
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกจีน
    6. วิชาเอกอังกฤษ
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น
    9. วิชาเอกอาหารและการโรงแรม
    10. วิชาเอกพลศึกษา
    11. วิชาเอกดุริงยางคศิลป์
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์
    13. วิชาเอกศิลปะการแสดง
    14. วิชาเอกออกแบบ

    ปีการศึกษา2557 มีการก่อตั้ง “ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสวัสดิการของบุคลากรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยจะรองรับเฉพาะบุตรของบุคลากรที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปทางโรงเรียนมีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยอิงหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 มีกิจกรรมหลัก6 กิจกรรม คือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสรีและกิจกรรมเกมการศึกษา

    ปีการศึกษา 2558 มีการดำเนิน “โครงการต้นแบบพัฒนาศักยภาพเด็กทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    1.เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็มศักยภาพ

    2.เพื่อผลิตนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์

    3.เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบของการบริหารจัดการในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศ

    4.เพื่อส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ อันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้สอนและผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)

    5.เพื่อสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 15 ปี ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2567) ด้านการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน

    ปีการศึกษา 2558 การจัดการเรียนการสอนเป็น 15 วิชาเอกได้แก่
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกจีน
    6. วิชาเอกอังกฤษ
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น
    9. วิชาเอกอาหารและการโรงแรม
    10. วิชาเอกพลศึกษา
    11. วิชาเอกดุริงยางคศิลป์
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์
    13. วิชาเอกศิลปะการแสดง
    14. วิชาเอกออกแบบ
    15. วิชาเอกภาษาอังกฤษ-อาเซียน
    ปีการศึกษา 2561 การจัดการเรียนการสอนเป็น 19 วิชาเอกได้แก่
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์
    3. วิชาเอกฝรั่งเศส
    4. วิชาเอกญี่ปุ่น
    5. วิชาเอกจีน
    6. วิชาเอกอังกฤษ
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น
    9. วิชาเอกอาหารและการโรงแรม
    10. วิชาเอกพลศึกษา
    11. วิชาเอกดุริงยางคศิลป์
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์
    13. วิชาเอกศิลปะการแสดง
    14. วิชาเอกออกแบบ
    15. วิชาเอกภาษาอังกฤษ-อาเซียน
    16. วิชาเอก Smart Global Science
    17. วิชาเอกคณิตศาสตร์ – วิศวะ
    18. วิชาเอกภาษาอังกฤษ IEM (Innovative English Major)
    19. วิชาเอกดิจิทัล มีเดีย อาร์ต
    ปีการศึกษา 2562 การจัดการเรียนการสอนเป็น 22 วิชาเอกได้แก่
    1. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ (Science)
    2. วิชาเอกคณิตศาสตร์ (Mathematic)
    3. วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส (France)
    4. วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น (Japanese)
    5. วิชาเอกภาษาจีน (Chinese)
    6. วิชาเอกภาษาอังกฤษ (English)
    7. วิชาเอกทัศนศิลป์ (Visual Art)
    8. วิชาเอกแอนิเมชั่น (Animation)
    9. วิชาเอกอาหารและการโรงแรม (Food and Hotel Management)
    10. วิชาเอกพลศึกษา (Physical Education)
    11. วิชาเอกดุริงยางคศิลป์ (Music Performance)
    12. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ (Multimedia Technology : MT)
    13. วิชาเอกศิลปะการแสดง (Performing Art)
    14. วิชาเอกออกแบบ (Design)
    15. วิชาเอกภาษาอังกฤษ-อาเซียน (English – Asian)
    16. วิชาเอกวิทยาศาสตร์Smart Global Science : SGS)
    17. วิชาเอกคณิตศาสตร์ – วิศวะ (Mathematic Engineer : ME)
    18. วิชาเอกภาษาอังกฤษ (Innovative English Major : IEM)
    19. วิชาเอกดิจิทัล มีเดีย อาร์ต (Digital Media Art : DMA)
    20. วิชาเอกคอมพิวเตอร์ (Information Technology : IT)
    21. วิชาเอกวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Engineer Artificial Intelligence : E-AI)
    22. วิชาเอกนันทนาการและภาษาเพื่อการท่องเที่ยว (Language and Recreation for Tourism : LRT)
    ปีการศึกษา 2563 การจัดการเรียนการสอนเป็น 28 วิชาเอกได้แก่
    1. เอกวิทยาศาสตร์
    2. เอกภาษาอังกฤษ (English)
    3. เอกภาษาจีน (Chinese)
    4. เอกภาษาอังกฤษ – อาเซียน (English – ASEAN)
    5. เอกดุริยางคศิลป์ (Music Department)
    6. เอกวิทยาศาสตร์ - ME (Mathematic Engineering)
    7. เอกวิทยาศาสตร์ - IT (Information Technology)
    8. เอกคอมพิวเตอร์ - IMT (Inovative Multimedia Technology)
    9. เอกวิทยาศาสตร์ - DE (Digital Engineering)
    10. เอกวิทยาศาสตร์ - E-AI (Engineering Artificial Intelligence)
    11. เอกวิทยาศาสตร์ - SGS (Smart Global Science)
    12. เอกวิทยาศาสตร์ - GHS (Global Health Science)
    13. เอกภาษาอังกฤษ - IEM (Innovative English Major)
    14. เอกอาหารการโรงแรมและภาษาเพื่อการสื่อสาร - FHCL(Food Hospitality and Communicative Language)
    15. เอกพลศึกษาและภาษาเพื่อการสื่อสาร - PECL(Physical Education and Communicative Language)
    16. เอกนันทนาการและภาษาเพื่อการท่องเที่ยว - RLT (Recreation and Language for Tourism)
    17. เอกออกแบบ (Design)
    18. เอกดิจิทัล มีเดีย อาร์ต – DMA (Digital Media Art)
    19. เอกออกแบบจิวเวลรี (Jewelry Design)
    20. เอกภาษาฝรั่งเศส (French)
    21. เอกภาษาญี่ปุ่น (Japanese)
    22. เอกคณิตศาสตร์ (Mathematics) ศิลป์ – คำนวณ
    23. เอกศิลปะการแสดงและภาษาเพื่อการสื่อสาร - PACL (Performing Arts and Communicative Language)
    24. เอกทัศนศิลป์ (Visual Arts)
    25. เอกแอนิเมชัน (Animation)
    26. เอกออกแบบแฟชัน (Fashion Design)
    27. เอกภาพยนตร์ดิจิทัล (Digital Film)
    28. เอกวิทยาศาสตร์ - AS (Art Science)
    กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    ประกอบด้วยวิชาเอก
  • เอกวิทยาศาสตร์
  • เอกวิทยาศาสตร์ - SGS (Smart Global Science)
  • เอกวิทยาศาสตร์ - AS (Art Science)
  • เอกวิทยาศาสตร์ - GHS (Global Health Science)
  • เอกคณิตศาสตร์ (Mathematics) ศิลป์ – คำนวณ
  • เอกวิทยาศาสตร์ - ME (Mathematic Engineering)
  • เอกวิทยาศาสตร์ - E-AI (Engineering Artificial Intelligence)
  • เอกคอมพิวเตอร์ - IMT (Inovative Multimedia Technology)
  • เอกวิทยาศาสตร์ - IT (Information Technology)
  • เอกวิทยาศาสตร์ - DE (Digital Engineering)
  • กลุ่มที่ 2 ศิลปกรรมศาสตร์
    ประกอบด้วยวิชาเอก
  • เอกทัศนศิลป์ (Visual Arts)
  • เอกแอนิเมชัน (Animation)
  • เอกออกแบบแฟชัน (Fashion Design)
  • เอกออกแบบจิวเวลรี (Jewelry Design)
  • เอกดิจิทัล มีเดีย อาร์ต – DMA (Digital Media Art)
  • เอกภาพยนตร์ดิจิทัล (Digital Film)
  • เอกดุริยางคศิลป์ (Music Department)
  • เอกศิลปะการแสดงและภาษาเพื่อการสื่อสาร - PACL (Performing Arts and Communicative Language)
  • เอกอาหารการโรงแรมและภาษาเพื่อการสื่อสาร - FHCL(Food Hospitality and Communicative Language)
  • เอกพลศึกษาและภาษาเพื่อการสื่อสาร - PECL(Physical Education and Communicative Language)
  • กลุ่มที่ 3 มนุษยศาสตร์
    ประกอบด้วยวิชาเอก
  • เอกภาษาอังกฤษ (English)
  • เอกภาษาอังกฤษ - IEM (Innovative English Major)
  • เอกภาษาฝรั่งเศส (French)
  • เอกภาษาอังกฤษ – อาเซียน (English – ASEAN)
  • เอกภาษาจีน (Chinese)
  • เอกภาษาญี่ปุ่น (Japanese)
  • เอกนันทนาการและภาษาเพื่อการท่องเที่ยว - RLT (Recreation and Language for Tourism)


  • อาจารย์ใหญ่
    โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
    ๑. ศาสตราจารย์ ดร.พนัส หันนาคินทร์ (๒๔๙๕ - ๒๔๙๘)
    ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทนา พรหมเศรณี (๒๔๙๘ - ๒๕๐๐)
    ๓. รองศาสตราจารย์คุณหญิงเต็มศิริ บุณยสิงห์ (๒๕๐๐ - ๒๕๑๑)
    ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรี ประจิมนอก (๒๕๑๑ - ๒๕๑๒)
    ๕. รองศาสตราจารย์สมลักษณ์ หิตะศักดิ์ (๒๕๑๒ - ๒๕๑๖)
    ๖. รองศาสตราจารย์ละออ การุณยะวนิช (๒๕๑๖ - ๒๕๑๘)
    ๗. รองศาสตราจารย์ประกิจ รัตนสุวรรณ (๒๕๑๘ - ๒๕๒๗)
    ๘. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อารี สัณหฉวี (๒๕๒๗ - ๒๕๓๑)
    ๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฎฐพงษ์ เจริญพิทย์ (รักษาราชการ ๒๕๓๑ - มกราคม ๒๕๓๒)
    ๑๐. รองศาสตราจารย์ชม ภูมิภาค (๒๕๓๒ - พฤษภาคม ๒๕๓๓)
    ๑๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม ยะชัยมา (๒๕๓๓ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๔)


    ผู้อำนวยการ
    โรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
    ๑. รองศาสตราจารย์ประกิจ รัตนสุวรรณ (กรกฎาคม ๒๕๓๔ – พฤษภาคม ๒๕๓๗)
    ๒. รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย นิรัญทวี (รักษาราชการ)
    ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร ฉัตรศุภกุล (มิถุนายน ๒๕๓๗ – ๑๐ กันยายน ๒๕๓๘)
    ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเสริฐ วิเศษกิจ (๑๑ กันยายน ๒๕๓๘ – ๑๑ กันยายน ๒๕๔๒)
    ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำไพ จิตต์วัฒน (๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๔๖)
    ๖. รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร ฉัตรศุภกุล (รักษาราชการ)
    ๗. อาจารย์พูลศักดิ์ เทศนิยม (๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐)
    ๘. อาจารย์พูลศักดิ์ เทศนิยม (๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑)
    ๙. รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ชูชาติ (รักษาราชการ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒)
    ๑๐. อาจารย์สุภาภักตร์ ปรมาธิกุล (๑ เมษายน ๒๕๕๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖ )
    ๑๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต สูงใหญ่ (๕ เมษายน ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน )